พิพิธภัณฑ์บ้านสี่ผู้เฒ่า
*********************************************
"ที่นี่..สร้างขึ้นจากแรงบันดาลใจของผมเอง
สิ่งของที่เห็นอยู่นี้ล้วนบอกเรื่องราวแต่หนหลัง
ของบรรพบุรุษ ตัวเรา และวงศาคณาญาติ ได้ไม่รู้จบ
หวังว่าผู้ที่พบเห็น จะหันมาเก็บสิ่งของใกล้ตัวบ้าง ดีกว่าจะทิ้งมันไปเป็นขยะ..
หวังว่าผู้ที่พบเห็น จะหันมาเก็บสิ่งของใกล้ตัวบ้าง ดีกว่าจะทิ้งมันไปเป็นขยะ..
พันเอก ดร.สุชาต จันทรวงศ์
10 มี.ค.2559
***************************************
ความเป็นมา
ภายในพิพิธภัณฑ์
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อย่างหลากหลาย และจัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ อัน ได้แก่
***************************************
ความเป็นมา
พิพิธภัณฑ์สี่ผู้เฒ่าเป็น "พิพิธภัณฑ์แบบครัวเรือน" โดยผมพยายามที่จะเก็บรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีอยู่ภายในบ้าน ตั้งแต่ สมัยครั้งบรรพบุรษจนกระทั่งถึงคนรุ่นปัจจุบัน นำมาจัดแสดงไว้ในบ้าน มุ่งหวังให้คนในครอบครัวให้เห็นและระลึกถึง สิ่งของที่จัดแสดงนี้ เป็นสิ่งของที่ไม่มีราคามากนักแต่มันเป็นสิ่งของที่มีค่าทางจิตใจ เริ่มตั้งแต่เกิด เรียนหนังสือ ทำงาน จนกระทั่งตาย สิ่งของเหล่านี้เป็นของทุกๆ คนที่เคยอาศัยอยู่ ณ บ้านหลังนี้
ที่มาของชื่อ พิพิธภัณฑ์บ้านสี่ผู้เฒ่า คือ บ้านหลังนี้เป็นบ้านเก่าแก่ ซึ่งตกทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรษจนถึงสมัยปัจจุบัน นับได้ 100 กว่าปีแล้ว โดยมีการซ่อมแซม ปรับปรุง และต่อเติมมาโดยตลอด คำว่า "สี่ผู้เฒ่า" มาจาก พี่น้องสี่คน ซึ่งเป็นบุตรของ นายกุหลาบ ฉายขจร และนางขอ (สกุลเดิม อินทรประสิทธิ์) ซึ่งเกิดอยู่อาศัยมาตั้งแต่เล็ก คือ
- นางสุพร (ชื่อเดิม กิมแช) จันทรวงศ์ (สกุลเดิม ฉายขจร)
- ร้อยตรีทวี (ทุ่น) ฉายขจร
- นายทศ ฉายขจร
- นางทองเขียว เจียมจำรัส (สกุลเดิม ฉายขจร)
ภายในพิพิธภัณฑ์
ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ อย่างหลากหลาย และจัดแบ่งออกเป็นส่วนๆ อัน ได้แก่
- ห้องชยบุรีมงคล เป็นห้องพระบูชาและเก็บพระเครื่องต่างๆ ห้องนี้มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรษ แต่เดิมห้องนี้ จะมีโกฎิไม้ บรรจุกระดูกของบรรพบุรษ ปู่ย่าตาทวดไว้เป็นจำนวนมาก นับเป็นสิบโกฎิ ผมรู้สึกกลัวทุกครั้ง เมื่อแม่ใช้เข้าไปหยิบของในห้อง แต่ตอนนี้ เอากระดูกไปไว้ที่ที่ฐานพระภายในพระปรางค์วัดมหาธาตุวรวิหาร หมดแล้ว คงเหลือแต่พระบูชา คำว่า ชยบุรีมลคล มาจากคำว่า ชยบุรี ซึ่งเป็นชื่อเก่าของเมืองราชบุรี และภายในห้องนี้มี พระมงคลบุรี (พระประจำเมืองราชบุรี) ซึ่งเช่ามาบูชาเป็นพระประธาน ผมจึงตั้งชื่อห้องนี้ว่า "ห้องชยบุรีมงคล"
- เรือนกุหลาบ เป็นเรือนหลังแรกของบ้าน ตั้งขึ้นตามชื่อของ นายกุหลาบ ฉายขจร ซึ่งพ่อของสี่ผู้เฒ่า (สุพร ทุ่น ทศ และทองเขียว) มีศักดิ์เป็นตาของผมเอง
- เรือนอินทรฉาย เป็นเรือนหลังกลาง โดยนำนามสกุล "อินทรประสิทธิ์" ซึ่งเป็นของ นางขอ (ยายผมเอง แต่ผมไม่เคยเห็นท่านพราะท่านเสียชีวิตตั้งแต่แม่ผมยังเล็ก) มาผสมคำนามสกุล "ฉายขจร" ซึ่งเป็นนามสกุลของ นายหลาบ (ตาของผมเอง)
- ห้องหอ เป็นห้องที่ผมเคยใช้เป็นห้องนอน นางสุพรฯ แม่ของผม เพิ่งมาปรับปรุงให้ใหม่ตอนผมโตแล้ว และพอผมแต่งงาน ก็ใช้ห้องนี้เป็นห้องส่งตัวและห้องนอนกับภรรยา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ปัจจุบันผมย้ายห้องนอนมาอยู่ชั้นล่างแล้ว และห้องนี้จัดทำไว้เป็นห้องนอนสำหรับญาติหรือแขกที่มาเยี่ยมบ้าน ผมตั้งชื่อห้องนี้ว่า "ห้องหอ" เป็นเป็นที่รำลึกถึงตัวผมและภรรยา นั่นเอง
- ห้องตุ๊กตา อยู่เรือนชั้นบน แต่เดิมเป็นห้องนอนของ อ.วีระ ฉายขจร พอท่านแต่งงานไปก็ไปปลูกบ้านใหม่ ห้องนี้จึงถูกทิ้งไว้ไม่มีใครนอน กลายเป็นห้องเก็บของไปแทน จนกระทั่ง ผมมาปรับปรุงติดแอร์ใหม่ แล้วใช้เป็นห้องเก็บกตุ๊กตา ที่เก็บอยู่ในบ้านตั้งแต่สมัยพ่อและแม่ ตัวผมเอง ของภรรยา และลูกๆ มาเก็บไว้ในห้องนี้
- ห้องกระเป๋า เป็นห้องที่รวบรวมกระเป๋า ตั้งแต่กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือ กระเป๋าสะพาย กระเป๋านักเรียน ฯลฯ ไปจนถึงกระเป๋าเดินทาง ที่ได้เคยใช้งานภายในครอบครัวมาแล้ว และที่ยังเป็นของใหม่ ถูกรวบรวมไว้ที่ห้องนี้
- ห้องอัมพวา อยู่บริเวณชั้นล่าง เป็นห้องเอนกประสงค์สำหรับพักผ่อน ดูหนัง ฟังเพลง และใช้รับแขกเป็นบางครั้ง มีการตกแต่งภายในด้วยโมเดลพวกเหล่าฮีโร่ต่างๆ จากภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวนมากมาย และยังเป็นที่เก็บ CD, DVD และหนังสืออ่านเล่นยามว่าง อีกด้วย เหตุตั้งชื่อว่าห้องอัมพวา เพื่อเป็นเกียรติแด่ภรรยาของผม ซึ่งเกิดที่ ต.เหมืองใหม่ อ.อัมพวา จ.สุมรสงคราม
- ลานจันทร์ฉาย เป็นลานชั้นล่างไว้นั่งเล่น กินข้าว และทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันภายในครอบครัว พื้นลานมีการยกระดับจากพื้นดินเพื่อป้องกันน้ำท่วม พื้นปูด้วยหินแกรนิต เหตุที่น้ำท่วมบริเวณชั้นล่างเพราะบ้านของผมเป็นบ้านเก่าแก่ เพื่อนบ้านที่ปลูกบ้านใหม่โดยรอบ ล้วนยกพื้นขึ้นสูงกันหมด ดังนั้น เวลาฝนตกหนักน้ำจะไหลมารวมกันที่บ้านของผม หากฝนตกลงหนักมากจริงๆ พื้นชั้นล่างนี้ จะระบายน้ำไม่ทัน น้ำท่วมขังสูงถึงประมาณ 30 ซม. ชื่อ ลานจันทร์ฉาย เป็นการนำชื่อแรกของนามสกุล "จันทรวงศ์" และ "ฉายขจร" มาผสมกัน
- ระเบียงกิมแช เป็นระเบียงบนชั้น 2 ที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ จัดเป็นห้องแสดงแกลลอรี่ต่างๆ ตั้งชื่อว่า "กิมแช" ซึ่งเป็นชื่อเก่าของแม่ผม ไว้เป็นที่ระลึก
- ครัวครูซิ้ม ครัวแห่งนี้ ปรับปรุงขึ้นหลังจากที่ผมและภรรยาแต่งงานกันแล้ว อยู่บริเวณชั้นล่างของบ้าน ที่ตั้งชื่อว่า ครัวครูซิ้ม เพราะภรรยาผมเป็นคนชอบทำอาหาร ทำอาหารอร่อย ผมและลูกๆ จึงพร้อมใจกันตั้งชื่อครัวแห่งนี้ว่า ครัวครูซื้ม ซึ่งคำว่า "ซิ้ม" เป็นชื่อเล่นของภรรยาผม
*******************************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น